แบบทดสอบการอ่านตีความ แปลความและขยายความ

10 | Attempts: 15149
Share

SettingsSettingsSettings
Please wait...
Create your own Quiz
แบบทดสอบการอ่านตีความ  แปลความและขยายความ - Quiz

ให้เลือคำตอบที่ถูกต้องท ่สุดเพียงข้อเดียว


Questions and Answers
  • 1. 
    1.  ข้อใดไม่ใช่หลักการอ่านตีความ
    • A. 

      การอ่านตีความไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องให้ละเอียด

    • B. 

      การถอดคำประพันธ์ในบทร้อยกรองคือการอ่านตีความ

    • C. 

      คิดหาเหตุผลอย่างรอบคอบก่อนนำมาประมวลเขข้ากับความคิดของตน

    • D. 

      วิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านตามความรู้สึกและความคิดของตน

  • 2. 
    2.  อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 2-3                                                 “ไม่มีใครไม่เคยไม่ผิดพลาด             ไม่มีใครไม่เคยขลาดมาแต่ต้น                                 เมื่อมีเมฆย่อมมีความมืดมน                             หลังพายุผ่านพ้นจึงสร่างซา“เมื่อมีเมฆย่อมมีความมืดมน”   มีความหมายว่าอย่างไร
    • A. 

      เมื่อมีความผิดพลาดย่อมมีความสมหวัง

    • B. 

      เมื่อมีชีวิตย่อมพบกับอุปสรรค

    • C. 

      เมื่อมีความผิดหวังย่อมพบกับความเสียใจ

    • D. 

      เมื่อมีอุปสรรคก็ย่อมพบกับความผิดหวัง

  • 3. 
    3.  จากข้อความในข้อ 2. ตีความด้านน้ำเสียงได้ว่าอย่างไร
    • A. 

      ความผิดหวังคือพลังของชีวิต

    • B. 

      สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

    • C. 

      ทุกคนย่อมผ่านความผิดพลาดมาก่อน

    • D. 

      เมื่ออุปสรรคผ่านพ้นไปแล้วย่อมพบความสมหวังได้

  • 4. 
    4.                             “ชีวิตวนเวียนวันผันผ่านพบ             กว่าดินกลบร่างลับชีพดับสูญ                 คนละคนปนเกลศเหตุมั่วมูล                             จะคิดพูนเพิ่มกุศลดูหม่นมัว”         น้ำเสียงของผู้เขียนคำประพันธ์ข้างต้นตรงกับข้อใด
    • A. 

      วิตก

    • B. 

      สังเวช

    • C. 

      สิ้นหวัง

    • D. 

      เบื้อหน่าย

  • 5. 
    5.  เพราะเหตุใดพระวิกรมาทิตย์จึงหลงกลเวตาลเผลอตอบคำถามที่เวตาลยั่วให้ตอบทุกครั้ง
    • A. 

      พระวิกรมาทิตย์เป็นคนขาดสติ ไม่รู้จักควบคุมตนเอง

    • B. 

      พระวิกรมาทิตย์เป็นคนชอบอวดฉลาด คิดว่าตนเองรู้มากกว่าคนอื่น

    • C. 

      พระวิกรมาทิตย์มีความเมตตา ต้องการให้เวตาลได้รับความรู้ที่ถูกต้อง

    • D. 

      พระวิกรมาทิตย์มีขัตติยมานะสูง ทรงทนไม่ได้ที่ถูกเวตาลดูหมิ่นวรรณะกษัตริย์

  • 6. 
    6.  “ส่วนพระราชานั้น  ใครบ้างนึกว่าจะได้ปัญญาจากพระราชา  ใครบ้างไปหาพระราชาใน ขณะที่ต้องการพบผู้เฉลียวฉลาด  ส่วนตัวข้าพเจ้า (เวตาล)  นี้พิศวงว่า  พระองค์ผู้ทรงนามว่า วิกรมาทิตย์  เป็นพระราชาผู้ประกอบด้วยปัญญายิ่งมหากษัตริย์ทั้งปวง  พระองค์จะตัดสิน ได้บ้างกระมังว่า  นางนั้นควรเป็นของชายคนไหนโดยทางที่ชอบ”   จากข้อความข้างต้น สะท้อนลักษณะพิเศษของผู้พูดในด้านใดเด่นชัดที่สุด
    • A. 

      ผู้พูดรู้จักใช้จิตวิทยาในการพูด

    • B. 

      ผู้พูดใช้สำนวนภาษาไพเราะ สละสลวย

    • C. 

      ผู้พูดรู้จักให้เกียรติคู่สนทนา แสดงมารยาทในการพูดดี

    • D. 

      ผู้พูดพูดจาเสียดสี พูดประชดประชัน ซึ่งผิดหลักการพูดที่ดี

  • 7. 
    7.  “ถ้าเราได้เห็นนางอีก  เราคงจะกล่าวว่า  นี่คือรูปที่ชายหลงใหล  สิ่งนี้มิใช่อื่นไกล  คือ ตะกร้าซึ่งมีหนังหุ้มภายนอก  ข้างในคือกระดูกเลือดเนื้อ  แลสิ่งโสโครกทั้งหลายเท่านั้น”  ความคิดของชายหนุ่มคนนี้สอดคล้องกับข้อใด
    • A. 

      การรู้จักข่มใจตน

    • B. 

      ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง

    • C. 

      การตระหนักถึงความตาย

    • D. 

      สังขารมนุษย์เป็นสิ่งน่ารังเกียจ

  • 8. 
    8.  “ความโง่ของข้าพเจ้าทะลุแล้ว  แต่พระองค์นั้นยัง”   เวตาลกล่าวข้อความนี้ด้วยเจตนา อย่างไร
    • A. 

      เยาะเย้ย

    • B. 

      หยอกล้อ

    • C. 

      ยั่วให้โกรธ

    • D. 

      เหยียดหยาม

  • 9. 
    9.  ข้อใดใช้ภาพพจน์ ต่างจากข้ออื่น
    • A. 

      เราได้เคยคิดว่าริมฝีปากของนางเหมือนผลไม้สุก อกเหมือนบัวตูม

    • B. 

      นางมธุมาลตีมีตาเหมือนนิโลตบลซึ่งบานเต็มที่ มีแขนเหมือนก้านบัว

    • C. 

      ข้าพเจ้าไม่อาจกินอาหารได้ ในที่เลี้ยงของคนที่ประพฤติราวกับรากษส

    • D. 

      ลูกหญิงซึ่งอายุควรมีคู่ไม่มีคู่ย่อมเป็นเช่นก้อนอุกาบาทว์ห้อยอยู่เหนือหลังคาเรือน

  • 10. 
    10.  คำประพันธ์ต่อไปนี้แปลความได้ว่าอย่างไร                                                 จะหามณีรัตน์                       รุจิเลศก็อาจหา                                 เพราะมีวณิชค้า                                    และดนูก็มั่งมี                                 ก็แต่จะหาซึ่ง                                        ภรรยาและมิตรดี                                 อทรัพยมากมี                                        ก็บ่ได้ประดุจใจ
    • A. 

      การหาแก้วมณีมาครอบครองนั้น หาได้ง่ายกว่าภรรยาและมิตรที่ดี

    • B. 

      หากต้องการแก้วมณีก็อาจหาซื้อได้จากพ่อค้าทั่วไป แต่ภรรยาและมิตรที่ดีไม่อาจหาซื้อได้

    • C. 

      หากมีเงินก็สามารถหาซื้อแก้วแหวน เงิน ทอง ได้ดั่งใจ แม้แต่ภรรยาและมิตรที่ดีหากไม่มีเงินก็ไม่อาจทำได้

    • D. 

      แก้วมณีอันงดงามนั้นอาจใช้เงินหาซื้อได้ แต่ภรรยาและมิตรที่ดีนั้น แม้จะทรัพย์มากมายเพียงใดก็ไม่อาจหาซื้อได้

Back to Top Back to top
×

Wait!
Here's an interesting quiz for you.

We have other quizzes matching your interest.