แบบทดสอบความรู้เรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

50 | Attempts: 28876
Share
SettingsSettings
Please wait...
  • 1/50 คำถามที่

    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเป็นกี่ช่วงชั้น

    • 3 ช่วงชั้น
    • 4 ช่วงชั้น
    • 5 ช่วงชั้น
    • 6 ช่วงชั้น
Please wait...
แบบทดสอบความรู้เรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน - Quiz


Quiz Preview

  • 2. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กลุ่มภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษในระดับชั้นใดบ้าง

    • 1-ม.6

    • ป.1-ม.6

    • ป.3-ม.6

    • อ.1-ม.6

    Correct Answer
    A. ป.1-ม.6
  • 3. 

    การคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์กี่ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)

    • 20 ชั่วโมง

    • 40 ชั่วโมง

    • 60 ชั่วโมง

    • 120 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. 40 ชั่วโมง
  • 4. 

    การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดไว้อย่างไรบ้าง

    • ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี

    • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี

    • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง

    • ทุกข้อที่กล่าวมา

    Correct Answer
    A. ทุกข้อที่กล่าวมา
  • 5. 

    ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเช่นไรบ้าง

    • ผ่านและไม่ผ่าน

    • ดีมาก ดี และผ่าน

    • ดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน

    • ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน

    Correct Answer
    A. ผ่านและไม่ผ่าน
  • 6. 

    การจัดเวลาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนเช่นไร

    • วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • 7. 

    กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม อย่างไรบ้าง

    • ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

    • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง

    • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

    • ทุกข้อที่กล่าวมา

    Correct Answer
    A. ทุกข้อที่กล่าวมา
  • 8. 

    วัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนคือข้อใด

    • เพื่อพัฒนาผู้เรียน

    • เพื่อตัดสินผลการเรียน

    • เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผู้เรียน

    • เพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน

    Correct Answer
    A. เพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน
  • 9. 

    ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการเช่นไร

    • สอบแก้ตัว

    • สอนซ่อมเสริม

    • สอบซ่อมเสริม

    • สอนรายวิชาเพิ่มเติม

    Correct Answer
    A. สอนซ่อมเสริม
  • 10. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่จะควรใช้เวลาประมาณร้อยละ ๕๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์

    • ภาษาไทย

    • ภาษาไทย คณิตศาสตร์

    • ภาษาไทย วิทยาศาสตร์

    • ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

    Correct Answer
    A. ภาษาไทย คณิตศาสตร์
  • 11. 

    จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ มีอะไรบ้าง

    • กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน

    • กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด

    • กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

    • กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

    Correct Answer
    A. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
  • 12. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไรบ้าง

    • กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมนักเรียน

    • กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด

    • กิจกรรมนักเรียน + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์

    • กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์

    Correct Answer
    A. กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมนักเรียน
  • 13. 

    ข้อใดคือขั้นตอนแรกของ Backward Design

    • กำหนดทักษะกระบวนการ

    • กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้

    • กำหนดเป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่ต้องการ

    • กำหนดหลักฐานในระดับที่ยอมรับได้

    Correct Answer
    A. กำหนดเป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • 14. 

    ข้อใดไม่น่าจะมีปรากฏในหน่วยการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ Backward Design

    • การนิเทศผู้เรียน

    • มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

    • แนวทางการให้คะแนน(rubric)

    • ผลงาน/การปฏิบัติงานรวบยอด

    Correct Answer
    A. การนิเทศผู้เรียน
  • 15. 

    ข้อใดไม่น่าจะมีปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ Backward Design

    • ปัญหาของผู้เรียน

    • เป้าหมายการเรียนรู้

    • สาระสำคัญ (concepts ความคิด ทักษะ กระบวนการ)

    • กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้

    Correct Answer
    A. ปัญหาของผู้เรียน
  • 16. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 สถานศึกษาต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกช่วงชั้น ให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียนโดยมีการจัดอย่างไร

    • ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต

    • ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นรายปี

    • ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายภาค และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต

    • ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นหน่วยกิต และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต

    Correct Answer
    A. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต
  • 17. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544

    • สถานศึกษา

    • คณะกรรมการสถานศึกษา

    • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

    • สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

    Correct Answer
    A. สถานศึกษา
  • 18. 

    ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก

    • วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้

    • สร้างเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

    • เลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

    • ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน

    Correct Answer
    A. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
  • 19. 

    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้

    • เลือกและใช้สื่อที่มีคุณภาพ

    • เลือกและใช้สื่อที่ดัดแปลงสภาพ

    • เลือกและใช้สื่อที่มีความเหมาะสม

    • เลือกและใช้สื่อที่มีความหลากหลาย

    Correct Answer
    A. เลือกและใช้สื่อที่ดัดแปลงสภาพ
  • 20. 

    เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นไปตามแนวการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้ ควรใช้สื่อประเภทใด

    • สื่อนวัตกรรม

    • สื่อคอมพิวเตอร์

    • สื่อเทคโนโลยี

    • สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่น

    Correct Answer
    A. สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่น
  • 21. 

    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 จัดระดับการศึกษาเป็นกี่ระดับ มีอะไรบ้าง

    • 2 ระดับ คือ ระดับภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)

    • 2 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6)

    • 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)

    • 4 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย (ชั้นอนุบาลปีที่ 1– 2) ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)

    Correct Answer
    A. 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)
  • 22. 

    การจัดเวลาเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนเช่นไร

    • วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง
  • 23. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ

    • ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ

    • ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    • ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    • ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    Correct Answer
    A. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  • 24. 

     จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 มาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนด คุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดเป็น 2  ลักษณะ คืออะไรบ้าง

    • มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้รายปี

    • มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้รายภาค

    • มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

    • มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาภาคบังคับ

    Correct Answer
    A. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
  • 25. 

    บทบาทของผู้สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก

    • ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

    • กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

    • ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

    • วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน

    Correct Answer
    A. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  • 26. 

    ผู้สอนต้องกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ให้ครอบคลุมในด้านบ้าง

    • ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ

    • ความรู้ ความเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    • ความรู้ความเข้าใจ ความคงทน ทักษะกระบวนการ

    • ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    Correct Answer
    A. ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  • 27. 

    ข้อใดคือสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551

    • สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

    • คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    • กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต

    • กระบวนการพัฒนาความรู้และคุณธรรม

    Correct Answer
    A. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  • 28. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูน ความรู้ และทักษะเฉพาะด้าน มุ่งปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา และการประกอบอาชีพ มุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ อยู่ในช่วงชั้นใด

    • ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

    • ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

    Correct Answer
    A. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
  • 29. 

    คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 มีอะไรบ้าง

    • รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, ขยัน, ประหยัด, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ

    • รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ประหยัด, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ

    • รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, มีคุณธรรม, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ

    • รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ

    Correct Answer
    A. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ
  • 30. 

    นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่อง ผู้สอนจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ผู้สอนภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษา   คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม     และครู ผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด

    • การบูรณาการแบบคู่ขนาน

    • การบูรณาการแบบสหวิทยา

    • การบูรณาการแบบโครงการ

    • การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว

    Correct Answer
    A. การบูรณาการแบบสหวิทยา
  • 31. 

    การจัดการเรียนรู้ที่ต้องสนองตอบต่อความสนใจของผู้เรียน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในแต่ละคาบเวลาเรียนนั้น ไม่ควรใช้เวลานานเกินความสนใจของผู้เรียน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกกลุ่มสาระ ในลักษณะบูรณาการที่มีภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ทักษะพื้นฐานการติดต่อสื่อสารในการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นใด

    • ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

    • ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

    Correct Answer
    A. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
  • 32. 

    ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมนักเรียน ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551

    • กิจกรรมชุมนุม ชมรม

    • กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร

    • กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน

    • กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์

    Correct Answer
    A. กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  • 33. 

    การจัดเวลาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนเช่นไร

    • วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง

    • วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง

    • วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
  • 34. 

    การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเป็นจำนวนกี่ชั่วโมง

    • 40 ชั่วโมง

    • 90 ชั่วโมง

    • 100 ชั่วโมง

    • 120 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. 120 ชั่วโมง
  • 35. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ในสาระการเรียนรู้กลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ข้อใดไม่ใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้

    • สุขศึกษาและพลศึกษา

    • การงานอาชีพและเทคโนโลยี

    • วิทยาศาสตร์

    • สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

    Correct Answer
    A. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • 36. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจตนเอง และพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ

    • ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

    • ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

    • ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

    Correct Answer
    A. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
  • 37. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการ เรียนรู้เพิ่มเติม เป็นหน่วยการเรียนรู้รายวิชาใหม่ ๆ รายวิชาที่มีความเข้มขึ้นอย่างหลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนอย่างไรบ้าง

    • ตามความถนัด ความสนใจ ความพร้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล

    • ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล

    • ตามความถนัด ความพร้อม ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล

    • ตามความถนัด ความเหมาะสม ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล

    Correct Answer
    A. ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • 38. 

    ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็นเช่นไรบ้าง

    • ผ่านและไม่ผ่าน

    • ดีมาก ดี และผ่าน

    • ดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน

    • ดีเยี่ยม ดี ผ่าน

    Correct Answer
    A. ดีเยี่ยม ดี ผ่าน
  • 39. 

    การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง        1) กำหนดวิสัยทัศน์        2) การจัดหลักสูตรสถานศึกษา        3) การออกแบบการเรียนการสอน        4) การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต        5) การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค

    • 1 2 3 4 5

    • 1 3 4 5 2

    • 1 5 4 3 2

    • 1 2 5 3 4

    Correct Answer
    A. 1 2 5 3 4
  • 40. 

    ว 1.2 ป. 1/2  หมายความถึงอะไร

    • ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ มาตรฐานข้อที่ 1 สาระที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2

    • ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2

    • ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ มาตรฐานข้อที่ 1 สาระที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สมรรถนะที่ 2

    • ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สมรรถนะที่ 2

    Correct Answer
    A. ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2
  • 41. 

    ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้นั้น ตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วยอะไรบ้าง

    • สาระการเรียนรู้ กิจกรรม และจำนวนเวลา

    • มาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรม และจำนวนเวลา

    • มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และกิจกรรม

    • มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลา

    Correct Answer
    A. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลา
  • 42. 

    ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น แตกต่างกันอย่างไร      

    • ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3)

    • ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) ส่วนเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนใน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6)

    • ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)

    • ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนใน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6)

    Correct Answer
    A. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6)
  • 43. 

    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544  กำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

    • ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800-1,000 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง

    • ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง

    • ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง

    • ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 มีเวลาเรียนปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

    Correct Answer
    A. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง
  • 44. 

    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตัดสินผลการเรียนในระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

    • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน

    • ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด

    • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

    • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    Correct Answer
    A. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน
  • 45. 

    สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 มีอะไรบ้าง

    • ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการคิด, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

    • ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ความสามารถในการอ่านเขียน, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

    • ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการอ่านเขียน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

    • ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการทำงาน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

    Correct Answer
    A. ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการคิด, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  • 46. 

    จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์

    • สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

    • ศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์

    • ศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ

    • สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    Correct Answer
    A. ศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
  • 47. 

    ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตัดสินผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

    • ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน

    • ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อย กว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ

    • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

    • ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    Correct Answer
    A. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน
  • 48. 

    สาระการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบดังกล่าว  

    • องค์ความรู้

    • สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

    • คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    • ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้

    Correct Answer
    A. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  • 49. 

    ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด

    • การบูรณาการแบบคู่ขนาน

    • การบูรณาการแบบสหวิทยา

    • การบูรณาการแบบโครงการ

    • การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว

    Correct Answer
    A. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว

Quiz Review Timeline (Updated): Mar 22, 2022 +

Our quizzes are rigorously reviewed, monitored and continuously updated by our expert board to maintain accuracy, relevance, and timeliness.

  • Current Version
  • Mar 22, 2022
    Quiz Edited by
    ProProfs Editorial Team
  • Apr 26, 2009
    Quiz Created by
    Mr.jo
Back to Top Back to top
Advertisement
×

Wait!
Here's an interesting quiz for you.

We have other quizzes matching your interest.